1. บริษัทฯ มีโครงสร้างยอดขายอย่างไร

ตอบ ยอดขายของบริษัทฯ ในปี 2566 สามารถแบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์ ตามช่องทางการจำหน่าย และประเภทธุกิจ ดังนี้

ตอบ SG&A to Sales ในปี 2566 ของบริษัทฯ เท่ากับ 24.1% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 24.0% เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (IPO Expenses) รวมถึงรายการกลับรายการค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้าคงเหลือในไตรมาส 4/2565 ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าทยอยลด %SG&A to Sales ทุกๆ ปี โดยบริษัทฯ มีแผนการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับองค์กร (Digital Transformation) เพิ่มมากขึ้นในทุกหน่วยงาน โดยจะช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเพิ่มขึ้นในทุกหน่วยงาน รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบและการบริหารสินค้าคงคลังที่สอดคล้องกับความต้องการซื้อ การผลิต การขาย จนถึงหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ นอกจากนี้ ศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้า KCG Logistics Park ซึ่งจะสามารถเริ่มทยอยใช้งานได้ภายในช่วงปลายไตรมาส 1/2567 และใช้งานได้เต็มที่ในช่วงครึ่งปีหลัง จะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง รวมถึงลดค่าใช้จ่ายการเช่าคลังสินค้าภายนอกได้อย่างมีนัยสำคัญ

ตอบ ในปี 2566 ต้นทุนวัตถุดิบคิดเป็นประมาณ 52.3% ของต้นทุนขายรวมของบริษัทฯ โดยวัตถุดิบหลักของบริษัทฯ ได้แก่ ไขมันนม (หรือน้ำมันเนย) ชีส น้ำมันปาล์ม แป้งสาลี นมผง และน้ำตาล เป็นต้น

ในปี 2565 ภาพรวมราคาวัตถุดิบหลักของบริษัทฯ ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบในตลาดโลก สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน การอ่อนตัวลงของค่าเงินสกุลบาท รวมถึงการปรับตัวขึ้นของต้นทุนพลังงานและค่าขนส่ง

อย่างไรก็ตาม นับจากต้นปี 2566 ภาพรวมราคาวัตถุดิบเริ่มทรงตัวและค่อยๆ ปรับตัวลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทฯ ในปี 2566 ทยอยปรับเพิ่มขึ้นไตรมาสต่อไตรมาส โดยการเคลื่อนไหวของภาพรวมราคาต้นทุนวัตถุดิบในปี 2566 เริ่มกลับสู่สภาวะปกติ ไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นรุนแรงเหมือนปี 2565 ซึ่งสภาวะราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ไม่ผันผวนจนเกินไปจะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการของบริษัทฯ โดยอัตรากำไรขั้นต้นในปี 2566 ของบริษัทฯ ได้กลับสู่ระดับปกติ ที่ระดับ 30.0% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 28.7% ในปี 2565

สำหรับแนวโน้มภาพรวมราคาต้นทุนวัตถุดิบเฉลี่ยในปี 2567 มีทิศทางค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับปี 2566 ประกอบกับบริษัทฯ มีแผนการปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีแผนการปรับปรุงหน่วยสินค้า (SKU Rationalization) และการใช้อัตรากำลังการผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2567 บริษัทฯ จึงคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะสามารถปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้เล็กน้อยในปี 2567

ตอบ สำหรับรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ปี 2566 ต้นทุนน้ำตาลคิดเป็นสัดส่วนต้นทุนเพียงประมาณ 0.8% ของต้นทุนขายรวมของบริษัทฯ อีกทั้งบริษัทฯ มีความสามารถในการปรับสูตรวัตถุดิบ ซึ่งช่วยบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้ส่วนหนึ่ง ผลกระทบจากราคาน้ำตาลที่แพงขึ้นจึงถือว่าไม่มีนัยสำคัญต่อบริษัทฯ

ตอบ บริษัทฯ มีการใช้จ่ายเงินสกุลต่างประเทศ ประมาณ 50% ของต้นทุนขายรวม (COGS) อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนอย่างระมัดระวัง และมีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอตราแลกเปลี่ยนโดยการซื้อสกุลงินต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) รวมถึงมีบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit หรือ FCD) ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของอ้ตราแลกเปลี่ยน

ตอบ บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์และแบรนด์ที่แข็งแกร่งซึ่งเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี และได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน รวมถึงมีห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่มีความยืดหยุ่น ส่งผลให้สามารถสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ก้บลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยมีองค์ประกอบต่างๆ ด้งนี้

  • มีโรงงานผลิตที่ได้การรับรองคุณภาพและมาตรฐานต่างๆ ของอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น GHP (Good Hygiene Practice), HACCP, ISO9001 : 2015, ฮาลาล และฮาลคิว
  • มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายครอบคลุมทั่วประเทศไทย ทั้งช่องทางการขายให้ผู้ประกอบการ (B2B) ช่องทางการขายให้ผู้บริโภค (B2C) ช่องทางออนไลน์ รวมถึงการส่งออกไปถึง 15 ประเทศ
  • มีระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับการรักษาความสดใหม่และคุณภาพของผลิตภัณฑ์
  • มีความมีความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรม โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม KCG Excellence Center สำหรับการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงความพร้อมด้านห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงาน RDI (หน่วยงานวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม หรือ Research Development and Innovation)/ Professional Chef ของบริษัทฯ ที่ช่วยพัฒนาสูตรอาหารที่มาพร้อมความอร่อย/ หน่วยงานขายและการตลาดที่เข้าใจความต้องการลูกค้า ซึ่งช่วยให้บริษัทฯ มีความพร้อมในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าทั้ง B2C และ B2B ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความสามารถในการสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ที่ทันต่อกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถให้บริการลูกค้า B2B ได้แบบครบวงจร (Solution Provider) ซึ่งเริ่มตั้งแต่การคิดเมนูและพัฒนาสูตรการผลิตให้กับลูกค้าแต่ละราย การปรับสูตรการผลิตและควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพในระดับอุตสาหกรรม ตลอดจนการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตอย่างประสิทธิภาพ

ตอบ ภายใต้ FTA ทำให้อัตราภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ทยอยเป็นศูนย์มาหลายปีแล้ว เหลือเพียงสินค้าบางรายการที่จะลดลงเป็นศูนย์ในช่วงต้นปี 2568 เช่น นมสดพร้อมดื่ม นมผงขาดมันเนย และวิปปิ้งครีม ซึ่งภาพรวมเป็นประโยชน์สำหรับบริษัทฯ มากกว่า โดยบริษัทฯ อาจปรับเปลี่ยนสินค้าบางรายการที่ผลิตเองมาเป็นนำเข้าได้ในอนาคต ถ้าต้นทุนจากการนำเข้าถูกกว่าการผลิตเอง

สำหรับ FTA กับยุโรป คาดว่าน่าจะใช้เวลาอีกประมาณอย่างน้อย 3-5 ปี อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ประเมินว่า FTA กับยุโรป จะไม่ทำให้บริษัทฯ อยู่ในสถานการณ์ที่เสียเปรียบแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการเตรียมพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบจากทางยุโรปไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยรสชาติของผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากยุโรปจะมีความแตกต่างจากวัตถุดิบจากทางออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รวมถึงบริษัทฯ สามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์จากยูโรปมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่อยู่แล้วในปัจจุบันได้เช่นกัน

ตอบ บริษัทฯ เป็นผู้นำตลาดในกลุ่มสินค้าทั้งประเภทเนยและชีส โดยมีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์เนย อยู่ที่ 55.0% และมีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์ชีส อยู่ที่ 31.6% รวมถึงมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ใน 5 อันดับแรก สำหรับวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารและเบเกอรี่ และบิสกิต (อ้างอิงจากรายงานข้อมูลส่วนแบ่งการตลาดในปี 2564 โดย Euromonitor) โดยบริษัทฯ ยังมีสินค้าหลากหลาย ประมาณ 2,100 รายการ ครอบคลุมทั้งตลาดพรีเมียม ตลาดมาตรฐาน และตลาดประหยัด

ตอบ ประเทศไทยมีอัตราการบริโภคชีสและเนยที่น้อยกว่าประเทศใกล้เคียง จึงยังมีโอกาสที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2560-2565) ยอดขายผลิตภัณฑ์เนยและชีสของบริษัทฯ มีอัตราการเติบโตสูงกว่าเฉลี่ยกว่าของอุตสาหกรรมในประเทศ ทั้งนี้ บริษัทฯ ในฐานะของผู้นำธุรกิจตลาดเนยและชีส ซึ่งมีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าและผู้บริโภคมาอย่างยาวนาน มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีและบุคลากร ตลอดจนช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ บริษัทฯ จึงมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการสร้าง Demand และการบริโภคในรูปแบบใหม่ๆ ได้ ซึ่งมาพร้อมกับคุณภาพและรสชาติที่ผู้บริโภคพึงพอใจ และมีต้นทุนราคาที่แข่งขันได้ ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนยอดขายของบริษัทฯ ให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตั้งเป้าหมายการเติบโตจากการส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการหาโอกาสเติบโตจากการขยายธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions หรือ M&A) โดยการแสวงหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจตลอด Supply Chain ทั้งในธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ หรือปลายน้ำ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ และช่วยเสริมธุรกิจของบริษัทฯ ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นในอนาคต

ตอบ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายการเติบโตของยอดขายในปี 2567 ไว้ประมาณ 2 หลัก โดยจะมุ่งเน้นการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการบริโภคเติบโตสูง การเติบโตของลูกค้าหลักทั้งกลุ่ม B2B และ B2C ยอดขายออนไลน์ ยอดขายส่งออก และการออกสินค้าใหม่ เป็นต้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการขยายตัวเศรษฐกิจในประเทศในปี 2567 จากการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ และการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยในปี 2567